







ออนไลน์ : 11
องค์การบริหารส่วนตำบลใจดี ร่วมกันป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ระยะการตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดก่อน 37สัปดาห์ หรือที่เรียกว่า "คลอดก่อนกำหนด" ส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย บางรายอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ผิดปกติขึ้น เช่น ปอดหัวใจแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ ต้องช่วยหายใจ เส้นเลือดไม่บีบหลังคลอด เลือดออกในโพรงสมอง ลำไส้เน่า ช็อก ติดเชื้อรุนแรง ฯลฯ
การป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้งเพื่อค้นหาความเสี่ยง
2. รับประทานอาหาร น้ำ และยาตามคำแนะนำของแพทย์
3. ควรเดินออกกำลังกายวันละ 30 นาที
4. ดูแลความสะอาดร่างกายทุกวัน
5. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำ หรือแช่น้ำในบ่อที่มีน้ำไม่สะอาด
6. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
7. ไม่ควรขับรถจักรยานยนต์ หรือนั่งรถเดินทางเป็นระยะเวลานาน
8. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
9. ไม่ควรนั่งยองๆ หรือเปลี่ยนจากท่ายืนเป็นท่านั่งบ่อยครั้ง
10. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่กระทบบริเวณหน้าท้อง
11. ควรนอนหลับให้เพียงพอ และหาเวลาพักผ่อนระหว่างวัน
หากพบสัญญาณเตือนให้รีบไปโรงพยาบาลทันที ไม่ควรรอให้ถึงวันนัดฝากครรภ์
1. ท้องปั้น ท้องแข็ง
2. มีน้ำใสออกทางช่องคลอด
3. มีเลือดสดออกจากทางช่องคลอด
4. มีตกขาว /เขียว /เหลือง ออกทางช่องคลอด
5. ปัสสาวะแสบคัน
6. ทารกดิ้นน้อยลง
อันตรายจากการคลอดก่อนกำหนด ผลกระทบต่อแม่
1. ภาวะเครียด
2. ภาวะซึมเศร้า



การประชุมสภาสมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2563 (ดู 591) | |
การประชุมสภาสมัยสามัญ สมัยที่ 4 (ดู 587) | |
การประชุมสภาสมัยสามัญ สมัยที่ 3 (ดู 521) | |
ประกาศขายทอดตลาดพัสดุ-ครุภัณฑ์ชำรุด เสื่อมสภาพ (ดู 1493) | |
ประกาศเรื่อง ขอคืนหลักประกันสัญญา ประจำปีงบประมาณ 2564 (ดู 2178) | |
ประชาสัมพันธ์การรับเบี้ยยังชีพ (ดู 2452) | |
ประชาสัมพันธ์การอบรมหลักสูตรขนมไทย (ดู 1100) |